Ads 468x60px

.

HISTORY

ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลสถานะสุขภาพของหมู่บ้านและตำบล

ประวัติความเป็นมาตำบลท่าข้าม  :
ตำบลท่าข้ามเดิมทีเล่ากันว่าประมาณ 150 ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีถนนในการติดต่อไปมาระหว่างหมู่บ้านกับอำเภอ  การสัญจรอาศัยการเดิน  ทางทิศตะวันตกของตำบลมีลำคลองติดต่อกับอำเภอยะหริ่ง  สามารถออกทะเลไปสู่เมืองปัตตานีได้  การสัญจรและการค้าขายทางน้ำ  ต้องอาศัยเรือสินค้ามาขายยังท่าเรือบริเวณบ้านท่าข้าม  การนำสินค้าจากหมู่บ้านไปขายยังท้องถิ่นอื่นต้องมาพักบริเวณนี้เป็นแรมเดือน  เป็นตำบลที่มีท่าเรือขนส่งสินค้าและผลผลิตของราษฎรส่งออกไปยังพื้นที่ใกล้เคียง  เพราะสมัยก่อนราษฎรใช้ลำคลองเป็นเส้นทางในการติดต่อค้าขายเป็นส่วนใหญ่  หมู่บ้านและตำบลใกล้เคียงจะมาลงเรือที่บริเวณบ้านท่าข้าม  เพื่อนำสินค้าจากนอกหมู่บ้านออกไปจำหน่ายและนำสินค้าจากข้างนอกนำมาจำหน่ายในหมู่บ้าน  ท่าข้ามจึงเป็นตลาดย่อยๆ  ปัจจุบันความเจริญได้เปลี่ยนแปลงไป  จึงใช้ถนนในการติดต่อค้าขาย  เรือต้องนำสินค้ามากที่บริเวณท่าเรือนี้ ดังชื่อเรียกว่า ท่าข้าม จึงเป็นตำบลท่าข้ามในปัจจุบัน

เนื้อที่ : 
โดยประมาณ 7.33 ตารางกิโลเมตร  หรือคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 4,581.25 ไร่

เขตการปกครอง : 
มีทั้งหมด 4  หมู่บ้าน คือ
      หมู่ที่ 1  บ้านท่าข้าม      
      หมู่ที่ 2  บ้านสวนหมาก
      หมู่ที่ 3  บ้านท่ามะนาว   
      หมู่ที่ 4  บ้านทุ่ง

ประวัติหมู่ที่ 1  บ้านท่าข้าม
      หมู่บ้านชื่อบ้านท่าข้าม  เพราะมีท่าเรือที่คลองท่าข้ามเป็นทางสัญจรติดต่อกันระหว่างตำบลใกล้เคียง

ประวัติหมู่ที่ 2  บ้านสวนหมาก
      เดิมเป็นทุ่งสวนหมาก เล่ากันว่ามีชาวจีนที่เรือสำเภาแตกที่ทุ่งสำเภาขึ้นมาสร้างที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านนี้  โดยประกอบอาชีพปลูกต้นหมากและทำหมากแห้งขาย

ประวัติหมู่ที่ 3  บ้านท่ามะนาว
      บ้านท่ามะนาว เล่ากันว่าเป็นตลาดที่มีท่าจอดเรือนำสินค้ามาขาย  ทำให้บริเวณท่าเรือนี้เต็มไปด้วยสิ่งสกปรกที่เหลือจากการขายถูกทิ้งลงในน้ำ  เกิดการเน่าเหม็น  ส่งกลิ่นคลายหมาเน่า เรียกกันว่า ท่าหมาเน่า  ในปัจจุบันเรียกว่า ท่ามะนาว      

ประวัติหมู่ที่ 4  บ้านทุ่ง
     ในสมัยเมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา  เดิมเรียกคำว่าทุ่ง  หมายถึงลึกมาก  เพราะหมู่บ้านนี้จะอยู่ลึกจากถนนสายปาลัส-ปะนาเระ ไปประมาณ 2 กิโลเมตร  จากตัวตำบลซึ่งแต่เดิมจะต้องเดินด้วยเท้าผ่านทุ่งนาไปถึงบ้านลุงกบหรือโพรงกบ  เล่ากันว่ามีต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งในโพรงไม้นี้เป็นที่อยู่ของกบ  ไปถึงตีนน้ำ หรือเรียกว่า บ้านตีนน้ำ  เพราะชาวบ้านปลูกบ้านอยู่บริเวณคลองมะปริง

แผนที่แสดงอาณาเขตตำบลท่าข้าม  :
อาณาเขตติดต่อ   :
          ทิศเหนือ          ติดต่อกับ         ตำบลปะนาเระ
          ทิศใต้             ติดต่อกับ         ตำบลบ้านนอก
          ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ         ตำบลบ้านกลาง
          ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ         ตำบลจะรัง

ลักษณะภูมิประเทศ  :    
          สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบ  และราบลุ่ม  มีฝนตลอดปี

ลักษณะภูมิอากาศ  :    
          มีฤดู 2 ฤดู  คือ ฤดูฝนในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนมกราคม และฤดูร้อน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือน กรกฎาคม ในฤดูฝน จะมีน้ำท่วมเป็นบางปี

การประกอบอาชีพ   :    
          เนื่องด้วยเป็นพื้นที่ในเขตชนบทมีแม่น้ำล้อมรอบประชาชนส่วนใหญ่มีการ ประกอบอาชีพการเกษตร ทำนา ทำสวนผลไม้ สวนยาง เลี้ยงสัตว์ ค้าขายสินค้าเกษตร และรับจ้างบางส่วน เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายตามบริบทของชุมชน ดำเนินชีวิตแบบพออยู่พอกิน

การคมนาคม การติดต่อสื่อสาร  :
           ถนนลาดยาง ถนนลูกรังในการคมนาคมภายในหมู่บ้าน มีรถประจำทางยะลา-ปะนาเระผ่านหมู่บ้าน การเดินทางส่วนใหญ่ใช้รถส่วนตัว รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนบุคคล การสื่อสาร ใช้โทรศัพท์มือถือ หอกระจายข่าวในหมู่บ้าน การบอกต่อรายบุคคล การประชุมในหมู่บ้าน   

ลักษณะการปกครอง  :  
              มีองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ซึ่งรับผิดชอบหมู่บ้านทั้งหมด  4  หมู่บ้าน  มีบ้านเรือนทั้งหมด 588  หลังคาเรือน และประชากรทั้งหมด  2,164 คน  ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 1,620  คน  คิดเป็นร้อยละ  74.8 และนับถือศาสนาอิสลาม  จำนวน 544  คน คิดเป็นร้อยละ  25.1 โดยมีข้อมูลประชากร ดังนี้
หมู่ที่/บ้าน
จำนวนหลัง
คาเรือน
ประชากร
ทั้งหมด
ชาย
หญิง
จำนวน
อสม.
ม.1 บ้านท่าข้าม
187
578
289
289
11
ม.2 บ้านสวนหมาก
108
495
290
205
9
ม.3 บ้านท่ามะนาว
134
439
212
227
10
ม.4 บ้านทุ่ง
159
652
326
326
11
         รวม
588
2,164
1,117
1,047
41


       ที่มา  ฐานข้อมูลประชากรกลางปี (DBPOP)  30 มิถุนายน 2556

เครือข่ายภาคประชาชน   :
            ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 41 คน มีแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว (กสค.) จำนวน 560 คน มีกลุ่ม/ชมรมด้านสุขภาพต่างๆ ที่ตั้งขึ้นในหมู่บ้าน ได้แก่ ชมรมสร้างสุขภาพ (แอโรบิค) ชมรมกีฬา ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน กลุ่มสตรี  กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์  กลุ่มจักสาน  ฯลฯ

การจัดการด้านสุขภาพ   :
             มีการจัดการทำประชาคมหมู่บ้าน  และจัดทำแผนชุมชน แผนด้านสุขภาพหมู่บ้าน  โดยใช้งบจากกองทุนที่มีในชุมชน และได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบตมีการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพ ได้แก่  การออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย คัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก คัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน การปลูกผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงสัตว์กินเอง การใช้วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง การใช้ภูมิปัญญา และนวัตกรรมชุมชนชุมชน



ปฏิทินงานของ PCU

Oddthemes